ลิงก์

สื่อรณรงค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ภาษาต่างๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร อังกฤษ และภาษาถิ่น ได้แก่ ปวาเกอะญอ(แก่วเกอะลื่อ),ม้ง, กะเหรี่ยง, ลาหู่, อาข่า, ไทใหญ่ ทั้งในรูปแบบโปสเตอร์ คลิปวิดีโอ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ รวมถึงจัดทำข้อมูลมี่เหมาะสมในระดับพื้นที่ชุมชน เพื่อป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโควิด-19

เนื้อหาสื่อสอนเด็กๆ ภาษาไทย เรื่องโควิด-19 ดาวน์โหลดได้ที่ Child book coronavirus in Thai Version_by HOST_19Mar2020

เนื้อหาสำหรับ 26 ภาษา รวมถึงภาษาไทย สำหรับพ่อแม่เพื่อสื่อสารกับเด็กในเรื่องโควิด-19 ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.covid19parenting.com/tips-in-other-languages 

สามารถติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ที่ #ไทยรู้สู้โควิด https://www.facebook.com/thaimoph

#สสส #thaihealth #ไทยรู้สู้โควิด #ชาติพันธุ์ #ดูเเลสุขภาพ

การประชุมเชิปฏิบัติการ “แนวทางขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในสถานศึกษา”

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มเชิงประเด็นการศึกษา เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไย นำโดย มูลนิธิกองทุนการศึกษาพิพพะละ และ มูลนิธิเตรียมชีวิต / Starfish Education Foundation จัดการประชุมเชิปฏิบัติการ “แนวทางขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในสถานศึกษา” ณ โรงแรมตักศิลา แกรนด์ จังหวัดมหาสารคาม และได้รับเกียรติจาก คุณวิทยา มากปาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามเป็นประธานในพิธี และได้รับเชิญจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการขับเคลื่อน PLC และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร หรือ ดร.แพร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเตรียมชีวิต

ซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ในสถานศึกษา เป็นแนวทางสำหรับสถานศึกษาในการนำกระบวนการ PLC สู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามเป้าหมาย ตามกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายไว้นั้น ในหลายโรงเรียนในประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนและมีแนวทางปฏิบัติมากมาย ดังนั้นทางมูลนิธิเตรียมชีวิต และมูลนิธิกองทุนการศึกษาพิพพะละ ผ่านการสนับสนุนโดยเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในสถานศึกษา” เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาและผู้สนใจได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล และแนวทางขับเคลื่อนนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อรวบรวมข้อเสนออื่นๆ ให้แก่ภาครัฐในลำดับต่อไป

โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นประมาณ 80 ท่านประกอบด้วยผู้บริหารสถาบันการศึกษา ครู นักพัฒนาชุมชน และนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา จากหลากหลายหน่วยงาน ได้แก่ โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล และมหาวิทยาลัย ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม อันมุ่งเป้าหมายจะเป็นพื้นที่นำร่องให้กับจังหวัดอื่นๆ ต่อไป