ลิงก์

สื่อรณรงค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ภาษาต่างๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร อังกฤษ และภาษาถิ่น ได้แก่ ปวาเกอะญอ(แก่วเกอะลื่อ),ม้ง, กะเหรี่ยง, ลาหู่, อาข่า, ไทใหญ่ ทั้งในรูปแบบโปสเตอร์ คลิปวิดีโอ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ รวมถึงจัดทำข้อมูลมี่เหมาะสมในระดับพื้นที่ชุมชน เพื่อป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโควิด-19

เนื้อหาสื่อสอนเด็กๆ ภาษาไทย เรื่องโควิด-19 ดาวน์โหลดได้ที่ Child book coronavirus in Thai Version_by HOST_19Mar2020

เนื้อหาสำหรับ 26 ภาษา รวมถึงภาษาไทย สำหรับพ่อแม่เพื่อสื่อสารกับเด็กในเรื่องโควิด-19 ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.covid19parenting.com/tips-in-other-languages 

สามารถติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ที่ #ไทยรู้สู้โควิด https://www.facebook.com/thaimoph

#สสส #thaihealth #ไทยรู้สู้โควิด #ชาติพันธุ์ #ดูเเลสุขภาพ

คู่มือเกมเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในช่วงการระบาดของโควดิ-19

Play @ Home คู่มือเกมเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในช่วงการระบาดของโควดิ-19 ฉบับแปลภาษาไทย โดย องค์กร Right to play เหมาะสำหรับให้น้องๆ และครอบครัวได้มีกิจกรรมเรียนรู้ดีๆ ร่วมกันในช่วงที่ต้องอยู่บ้าน สามารถดาวน์โหลดได้ใน link ด้านล่างนี้

Thai_Final_Play @ Home_Covid-19_Games_Packet (1)

 

แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19)

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักบูรณาการกิจการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน และ สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย, กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.), Save the Children ประเทศไทย, มูลนิธิศุภนิมิต แห่งประเทศไทย, องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, สภากาชาดไทย, และองค์การยูเนสโก ประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนาเอกสาร “แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19)” โดยอิง จาก Guidance for COVID-19 Prevention and Control in Schools ซึ่ง จัดทำโดย องคก์ารยูนิเซฟ องค์การอนามัยโลก และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) เพื่อเป็นแนวทางระดับสากลในการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อให้จัดการเรียนการสอนได้อย่างปลอดภัย

ข้อเสนอแนะในแนวทางปฏิบัติฯ ฉบับนี้ เหมาะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเจ้าหน้าที่ รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่จัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน อาชีวศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัยตลอดจนหน่วยงานการศึกษานอกระบบ เพื่อความเข้าใจตรงกันในการใช้แนวทางปฏิบัติฯ เล่มนี้ โดยสามารถคลิกดาวน์โหลดตาม link ด้านล่างนี้

UNICEF_แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19)

การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย ครั้งที่ 40

การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย ครั้งที่ 40 เพื่อวางแผนในการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน 30 ปีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และการประชุมสามัญประจำปี 2562 ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้

การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย ครั้งที่ 38

การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย ครั้งที่ 38 มีการพูดคุยในประเด็นการสนับสนุนการจัดงาน 2019 Asian Children’s Summit ซึ่งจะมาจัดในประเทศไทยเดือนพฤศจิกายน 2562 รวมถึงรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานแต่ละประเด็น และหารือเรื่องการจัดงานครบรอบ 30 ปีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนการทำงาน

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนของคนทำงานในกรณีของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อจากความรุนแรง โดยตั้งเป้าในการเรียนรู้และเสริมสร้างแนวทางป้องกันเพื่อให้การดำเนินงานปกป้องคุ้มครองเด็กมีความสอดคล้องตรงกัน

การประชุมเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับจัดทำรายงานทางเลือก

การประชุมเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับจัดทำรายงานทางเลือก โดย มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก (ECPAT) ร่วมกับ เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย โดยเป็นการประชุมกับเครือข่ายการทำงานด้านสิทธิเด็กในภาคเหนือ ซึ่งมีความจำเพาะ เช่น เรื่องเด็กไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก เด็กเคลื่อนย้าย เป็นต้น เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลอันนำไปสู่การร่างรายงานทางเลือกที่จะนำส่งให้กับคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNCRC) ต่อไป

การทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิเด็ก ภายใต้กลไก UPR

คณะกรรมการ และสมาชิกเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใต้กลไกทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) ฉบับรายงานความคืบหน้า ระยะกลาง” 2-3 ธันวาคม 2018 ณ โรงแรมอลิซาเบธ กรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในประเด็นสิทธิเด็ก และติดตามการดำเนินงานภายใต้ข้อเสนอแนะที่ภาครัฐให้พันธะสัญญาจากกลไก UPR

การอบรมแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานฉบับเด็ก

แกนนำเด็กและเยาวชนของเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทยเข้าร่วมการอบรมแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานฉบับเด็ก ระหว่างวันที่ 24-26 พ.ย. 61 ที่ผ่านมา ณ จังหวัดเชียงรายโดยมีกิจกรรมสำหรับแกนนำเด็กและเยาวชน ได้แก่ กลไกการจัดทำรายงานฉบับเด็ก การนำเสนอรายงานที่ได้ไปเก็บข้อมูลสถานการณ์สิทธิเด็กในพื้นที่ การฝึกฝนทักษะการนำเสนอประเด็นสิทธิเด็กผ่านเวทีจำลอง และนิทรรศการพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จนนำไปสู่การจัดทำรายงานฉบับเด็ก ฉบับสมบูรณ์ ที่จะสามารถนำไปส่งให้กับคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือนำเสนอแก่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงนโยบายต่อไป

การประชุมเพื่อเก็บข้อมูลรายงานทางเลือก บริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

คณะกรรมการเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย ร่วมประชุมกับ CPN Child Protection Network หรือเครือข่ายปกป้องเด็กชายแดนใต้ รวม 15 องค์กร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านสิทธิเด็กในบริบทของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานทางเลือกฉบับเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย

การประชุมจัดขึ้นในวันที่ 19 พ.ย. 61 ณ โรงแรม Park View จังหวัดปัตตานี